เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [3. ทิฏฐิสังยุต]
1. โสตาปัตติวรรค 9. สัสสตทิฏฐิสูตร

“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ
7 กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ 6 ประการ
นี้ได้ ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

มหาทิฏฐิสูตรที่ 8 จบ

9. สัสสตทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกเที่ยง

[214] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :295 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [3. ทิฏฐิสังยุต]
1. โสตาปัตติวรรค 9. สัสสตทิฏฐิสูตร

เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง’'
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ 6 ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :296 }