เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [3. ทิฏฐิสังยุต]
1. โสตาปัตติวรรค 8. มหาทิฏฐิสูตร

ผ่านไประหว่างสภาวะ 7 กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิดที่เป็นประธาน 1,406,600
กรรม 500 กรรม 5 กรรม 3 กรรมกึ่ง1 ปฏิปทา 62 อันตรกัป 62 อภิชาติ
6 ปุริสภูมิ2 8 อาชีวก 4,900 ปริพาชก 4,900 นาควาส 4,900 อินทรีย์
2,000 นรก 3,000 รโชธาตุ3 36 สัญญีครรภ์ 7 อสัญญีครรภ์ 7 นิคัณฐีครรภ์4
7 เทวดา 7 มนุษย์ 7 ปีศาจ 7 สระ 7 ตาไม้ไผ่ 7 ตาไม้ไผ่ 700 เหวใหญ่
7 เหวน้อย 700 มหาสุบิน 7 สุบิน 700 มหากัป5 8,400,000 เหล่านี้
ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความ
สมหวังในความปรารถนาว่า ‘เราจักอบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือ
สัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้หมดสิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้
ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้ (จำนวนเท่านั้นเท่านี้) เหมือนตวงด้วยทะนาน
สงสารที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลย ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้น
สูงหรือเลื่อนลงต่ำ พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว เสวยสุข
และทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [3. ทิฏฐิสังยุต]
1. โสตาปัตติวรรค 8. มหาทิฏฐิสูตร

ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ 7 กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและ
ทุกข์เอง ...
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ 7 กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและ
ทุกข์เอง ...
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ 7 กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล
ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ 7
กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :294 }