เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [3. ทิฏฐิสังยุต]
1. โสตาปัตติวรรค 8. มหาทิฏฐิสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ 6 ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

เหตุสูตรที่ 7 จบ

8. มหาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิหลายประการ

[213] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ 7 กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้
บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด
ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุข
และทุกข์แก่กันและกัน
สภาวะ 7 กอง อะไรบ้าง คือ

1. กองแห่งธาตุดิน 2. กองแห่งธาตุน้ำ
3. กองแห่งธาตุไฟ 4. กองแห่งธาตุลม
5. กองสุข 6. กองทุกข์
7. กองชีวะ

สภาวะ 7 กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต
ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบกระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ใครก็ตามแม้จะเอา
ศัสตราคมตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใครได้ เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :292 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [3. ทิฏฐิสังยุต]
1. โสตาปัตติวรรค 8. มหาทิฏฐิสูตร

ผ่านไประหว่างสภาวะ 7 กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิดที่เป็นประธาน 1,406,600
กรรม 500 กรรม 5 กรรม 3 กรรมกึ่ง1 ปฏิปทา 62 อันตรกัป 62 อภิชาติ
6 ปุริสภูมิ2 8 อาชีวก 4,900 ปริพาชก 4,900 นาควาส 4,900 อินทรีย์
2,000 นรก 3,000 รโชธาตุ3 36 สัญญีครรภ์ 7 อสัญญีครรภ์ 7 นิคัณฐีครรภ์4
7 เทวดา 7 มนุษย์ 7 ปีศาจ 7 สระ 7 ตาไม้ไผ่ 7 ตาไม้ไผ่ 700 เหวใหญ่
7 เหวน้อย 700 มหาสุบิน 7 สุบิน 700 มหากัป5 8,400,000 เหล่านี้
ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความ
สมหวังในความปรารถนาว่า ‘เราจักอบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือ
สัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้หมดสิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้
ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้ (จำนวนเท่านั้นเท่านี้) เหมือนตวงด้วยทะนาน
สงสารที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลย ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้น
สูงหรือเลื่อนลงต่ำ พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว เสวยสุข
และทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น”