เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เวทนาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ไม่จำต้องกล่าวถึงวิญญาณที่
เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในวิญญาณที่เป็น
อดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน”

กาลัตตยอนัตตสูตรที่ 11 จบ
นกุลปิตุวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. นกุลปิตุสูตร 2. เทวทหสูตร
3. หลิททิกานิสูตร 4. ทุติยหลิททิกานิสูตร
5. สมาธิสูตร 6. ปฏิสัลลานสูตร
7. อุปาทาปริตัสสนาสูตร 8. ทุติยอุปาทาปริตัสสนาสูตร
9. กาลัตตยอนิจจสูตร 10. กาลัตตยทุกขสูตร
11. กาลัตตยอนัตตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 2. อนิจจวรรค 1. อนิจจสูตร

2. อนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
1. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[12] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขาร
ไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว1 ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว2 ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง
นี้อีกต่อไป3”

อนิจจสูตรที่ 1 จบ