เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [2. ราธสังยุต]
1. ปฐมวรรค 8. อรหันตสูตร

อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ 5. วิญญาณูปาทานขันธ์
เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ตามความเป็นจริง
ราธะ นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โสตาปันนสูตรที่ 7 จบ

8. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[167] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ 5. วิญญาณูปาทานขันธ์
เพราะเหตุที่ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ตามความเป็นจริง จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
ราธะ นี้เราเรียกว่า เป็นภิกษุอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

อรหันตสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [2. ราธสังยุต]
1. ปฐมวรรค 10. ทุติยฉันทราคสูตร

9. ฉันทราคสูตร
ว่าด้วยความพอใจและความกำหนัด

[168] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป
เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปนั้นจักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา เมื่อเป็นเช่นนี้ เวทนานั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ ... ในสัญญา ฯลฯ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในสังขาร เมื่อเป็นเช่นนี้ สังขารเหล่านั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอน
โคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในวิญญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณนั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้”

ฉันทราคสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยฉันทราคสูตร
ว่าด้วยความพอใจและความกำหนัด สูตรที่ 2

[169] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “ราธะ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :260 }