เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [2. ราธสังยุต]
1. ปฐมวรรค 4. ปริญเญยยสูตร

นี้เรากล่าวว่า กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ เพราะดับกิเลสเหล่านั้น จึงจัดเป็น
ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ
ความพอใจ ฯลฯ ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ...
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณ
นี้เรากล่าวว่า กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ เพราะดับกิเลสเหล่านั้น จึงจัดเป็น
ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ”

ภวเนตติสูตรที่ 3 จบ

4. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

[163] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ราธะ เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้
เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระราธะรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า
“ราธะ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนาเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สัญญา
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สังขารเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ วิญญาณเป็นธรรมที่ควร
กำหนดรู้
เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ความกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :256 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [2. ราธสังยุต]
1. ปฐมวรรค 5. สมณสูตร

บุคคลผู้กำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า บุคคลผู้กำหนดรู้นั้น คือพระอรหันต์ ได้แก่ ท่านผู้
มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้”

ปริญเญยยสูตรที่ 4 จบ

5. สมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ

[164] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็
ไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ใน
หมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นจะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือ
ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันไม่ได้
ราธะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :257 }