เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [2. ราธสังยุต]
1. ปฐมวรรค 3. ภวเนตติสูตร

ราธะ พวกเด็กชายหรือเด็กหญิงเล่นเรือนฝุ่นอยู่ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความ
กำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย
ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด
พวกเขาก็อาลัย อยากเล่น หวงแหน ยึดถือเรือนฝุ่นทั้งหลายอยู่เพียงนั้น
แต่เมื่อใด พวกเด็กชายหรือเด็กหญิง เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก
ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้น เมื่อนั้น พวกเขาย่อมรื้อ ยื้อแย่ง
ทำลาย ทำเรือนฝุ่นเหล่านั้นให้เล่นไม่ได้ด้วยมือและเท้า แม้ฉันใด แม้เธอทั้งหลาย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงรื้อ แยก กระจายออก ทำรูปให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อ
ความสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก ทำเวทนาให้ยินดีไม่ได้
ปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา ... สัญญา ... เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก
ทำสังขารให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก
ทำวิญญาณให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา ราธะ ก็ความสิ้นตัณหา จัด
เป็นนิพพาน”

สัตตสูตรที่ 2 จบ

3. ภวเนตติสูตร
ว่าด้วยกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ

[162] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ’ กิเลสเป็นเหตุนำไป
สู่ภพเป็นอย่างไร ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ ความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไป
ตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :255 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [2. ราธสังยุต]
1. ปฐมวรรค 4. ปริญเญยยสูตร

นี้เรากล่าวว่า กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ เพราะดับกิเลสเหล่านั้น จึงจัดเป็น
ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ
ความพอใจ ฯลฯ ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ...
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณ
นี้เรากล่าวว่า กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ เพราะดับกิเลสเหล่านั้น จึงจัดเป็น
ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ”

ภวเนตติสูตรที่ 3 จบ

4. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

[163] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ราธะ เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้
เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระราธะรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า
“ราธะ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนาเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สัญญา
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สังขารเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ วิญญาณเป็นธรรมที่ควร
กำหนดรู้
เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ความกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :256 }