เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 5. ทิฏฐิวรรค 10. อานันทสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูป
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้
ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :251 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 5. ทิฏฐิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อานันทสูตรที่ 10 จบ
ทิฏฐิวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อัชฌัตตสูตร 2. เอตังมมสูตร
3. โสอัตตาสูตร 4. โนจเมสิยาสูตร
5. มิจฉาทิฏฐิสูตร 6. สักกายทิฏฐิสูตร
7. อัตตานุทิฏฐิสูตร 8. อภินิเวสสูตร
9. ทุติยอภินิเวสสูตร 10. อานันทสูตร

อุปริปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในอุปริปัณณาสก์นี้ คือ

1. อันตวรรค 2. ธัมมกถิกวรรค
3. อวิชชาวรรค 4. กุกกุฬวรรค
5. ทิฏฐิวรรค

รวม 5 วรรค เรียกว่า ตติยปัณณาสก์
ขันธสังยุต จบ