เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 5. ทิฏฐิวรรค 7. อัตตานุทิฏฐิสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกายทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกายทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

สักกายทิฏฐิสูตรที่ 6 จบ

7. อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยอัตตานุทิฏฐิ

[156] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร อัตตานุทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นอัตตา) จึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป อัตตานุทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ อัตตานุทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :247 }