เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 3. อวิชชาวรรค 10. ตติยโกฏฐิตสูตร

ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย
นี้ผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตาม
ความเป็นจริง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”

ทุติยโกฏฐิตสูตรที่ 9 จบ

10. ตติยโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระโกฏฐิตะ สูตรที่ 3

[135] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
รูป ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดเวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ ไม่รู้ชัด
ความเกิดแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งวิญญาณ
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับ ย่อมรู้ชัดรูป รู้ชัดความเกิดแห่งรูป รู้ชัดความดับแห่งรูป รู้ชัดปฏิปทาที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :229 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 3. อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ให้ถึงความดับแห่งรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดวิญญาณ รู้ชัด
ความเกิดแห่งวิญญาณ รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งวิญญาณ
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”

ตติยโกฏฐิตสูตรที่ 10 จบ
อวิชชาวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สมุทยธัมมสูตร 2. ทุติยสมุทยธัมมสูตร
3. ตติยสมุทยธัมมสูตร 4. อัสสาทสูตร
5. ทุติยอัสสาทสูตร 6. สมุทยสูตร
7. ทุติยสมุทยสูตร 8. โกฏฐิตสูตร
9. ทุติยโกฏฐิตสูตร 10. ตติยโกฏฐิตสูตร