เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 2. ธัมมกถิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคล
เห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น
กัปปะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และ
มานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”

ทุติยกัปปสูตรที่ 13 จบ
ธัมมกถิกวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อวิชชาสูตร 2. วิชชาสูตร
3. ธัมมกถิกสูตร 4. ทุติยธัมมกถิกสูตร
5. พันธนสูตร 6. ปริปุจฉิตสูตร
7. ทุติยปริปุจฉิตสูตร 8. สัญโญชนิยสูตร
9. อุปาทานิยสูตร 10. สีลวันตสูตร
11. สุตวันตสูตร 12. กัปปสูตร
13. ทุติยกัปปสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 3. อวิชชาวรรค 1. สมุทยธัมมสูตร

3. อวิชชาวรรค
หมวดว่าด้วยอวิชชา
1. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

[126] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’
อวิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดรูปที่
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็น
จริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘เวทนามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา’
ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :221 }