เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 2. ธัมมกถิกวรรค 10. สีลวันตสูตร

เวทนา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในวิญญาณนั้นเป็นอุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เราเรียกว่า อุปาทาน”1

อุปาทานิยสูตรที่ 9 จบ

10. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย

[122] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่
หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย
ขอรับ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ 5 ประการอัน
ภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น
(บังคับไม่ได้) เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 2. ธัมมกถิกวรรค 10. สีลวันตสูตร

อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้อันภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก
เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นไป
ได้ที่อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้อันภิกษุผู้มีศีลมนสิการโดยแยบคาย โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นโสดาบันควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นโสดาบัน
ก็ควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไป
ได้ที่ภิกษุผู้เป็นโสดาบันมนสิการอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้โดยแยบคาย โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งสกทาคามิผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุแม้ผู้เป็นสกทาคามีควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นสกทาคามี
ก็ควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไป
ได้ที่ภิกษุผู้เป็นสกทาคามีมนสิการอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้โดยแยบคาย โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งอนาคามิผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอนาคามีควรมนสิการโดยแยบคาย
ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นอนาคามีก็ควร
มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไปได้ที่
ภิกษุผู้เป็นอนาคามีมนสิการอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้โดยแยบคาย โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งอรหัตตผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอรหันต์ควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :216 }