เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 2. ธัมมกถิกวรรค 7. ทุติยปริปุจฉิตสูตร

“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ปริปุจฉิตสูตรที่ 6 จบ

7. ทุติยปริปุจฉิตสูตร
ว่าด้วยการสอบถาม สูตรที่ 2

[119] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อ
นั้นว่าอย่างไร เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ...
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยปริปุจฉิตสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 2. ธัมมกถิกวรรค 9. อุปาทานิยสูตร

8. สัญโญชนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์

[120] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร สังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในรูปนั้นเป็นสังโยชน์
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในวิญญาณนั้นเป็นสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
นี้เรียกว่า สังโยชน์”1

สัญโญชนิยสูตรที่ 8 จบ

9. อุปาทานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน

[121] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร อุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในรูปนั้นเป็นอุปาทาน