เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 2. ธัมมกถิกวรรค 3. ธัมมกถิกสูตร

2. ธัมมกถิกวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมกถึก
1. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา

[113] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่
พระองค์ตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”1
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดรูป
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งรูป ไม่รู้ชัดเวทนา ... ไม่รู้ชัดสัญญา ... ไม่รู้ชัดสังขาร ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับแห่งวิญญาณ
ภิกษุ นี้เราเรียกว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่
ในอวิชชา”

อวิชชาสูตรที่ 1 จบ

2. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา

[114] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”2


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 2. ธัมมกถิกวรรค 3. ธัมมกถิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ รู้ชัดรูป
รู้ชัดความเกิดแห่งรูป ฯลฯ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ... เวทนา ...
สัญญา ... รู้ชัดสังขาร ฯลฯ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
ภิกษุ นี้เราเรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”

วิชชาสูตรที่ 2 จบ

3. ธัมมกถิกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมกถึก

[115] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ด้วย
เหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นพระธรรมกถึก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุ
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความ
เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ ไม่ถือมั่นรูป ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’
หากภิกษุ ... เวทนา ฯลฯ
หากภิกษุ ... สัญญา ...
หากภิกษุ ... สังขาร ...
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ ไม่ถือมั่นวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

ธัมมกถิกสูตรที่ 3 จบ