เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 1. อันตวรรค 10. ทุติยฉันทปหานสูตร

9. ฉันทปหานสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจ

[111] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปนั้นก็
จักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ... ในสังขาร ... เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลินเพลิน ความทะยานอยากในวิญญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณนั้นก็จักเป็น
อันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”

ฉันทปหานสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยฉันทปหานสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจ สูตรที่ 2

[112] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอัน
เป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูป เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปนั้นก็จักเป็น
อันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ... ในเวทนา ... ในสัญญา ...
เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ... ในสังขาร ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้สังขารนั้นก็จักเป็น
อันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เธอทั้งหลายจงละความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :206 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 1. อันตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณ
นั้นก็จักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”

ทุติยฉันทปหานสูตรที่ 10 จบ
อันตวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อันตสูตร 2. ทุกขสูตร
3. สักกายสูตร 4. ปริญเญยยสูตร
5. สมณสูตร 6. ทุติยสมณสูตร
7. โสตาปันนสูตร 8. อรหันตสูตร
9. ฉันทปหานสูตร 10. ทุติยฉันทปหานสูตร