เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 1. อันตวรรค 3. สักกายสูตร

3. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะ

[105] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสักกายะ เหตุเกิดแห่ง
สักกายะ ความดับแห่งสักกายะ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
สักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ‘สักกายะนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5 ประการ’
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ 5. วิญญาณูปาทานขันธ์
นี้เรียกว่า สักกายะ
เหตุเกิดแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ คือ
1. กามตัณหา
2. ภวตัณหา
3. วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า เหตุเกิดแห่งสักกายะ
ความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า ความดับแห่งสักกายะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :201 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 1. อันตวรรค 4. ปริญเญยยสูตร

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ
ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ”

สักกายสูตรที่ 3 จบ

4. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

[106] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ความกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้
บุคคลผู้กำหนดรู้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :202 }