เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 1. นกุลปิตุสูตร

และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ข้าพระองค์ก็ไม่ได้เห็นเป็นนิตย์ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดโอวาท โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ด้วยพระดำรัสที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ความจริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง
บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่า
นอกจากความโง่เขลา เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรามีกาย
กระสับกระส่ายอยู่ จิตจักไม่กระสับกระส่าย’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้”
ลำดับนั้น นกุลปิตาคหบดีชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ1 แล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้ถามนกุลปิตาคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านได้ฟัง
ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคหรือไม่”
นกุลปิตาคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ทำไมจะไม่เป็นอย่างนี้เล่า บัดนี้ พระ
ผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดกระผมด้วยธรรมีกถา”
“คหบดี พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดท่านด้วยธรรมีกถาอย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ชรา สูงอายุ
เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยประจำ
พระผู้มีพระภาคและภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ข้าพระองค์ก็ไม่ได้เห็นเป็นนิตย์
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดโอวาท โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ด้วยพระดำรัสที่เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด’
เมื่อกระผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับกระผมดังนี้ว่า
‘คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ความจริง กายนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 1. นกุลปิตุสูตร

กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่
พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่า นอกจากความโง่เขลา
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิต
จักไม่กระสับกระส่าย’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดกระผมด้วยธรรมีกถา
อย่างนี้”
“คหบดี ก็ท่านไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคให้ยิ่งขึ้นหรือว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และชื่อว่า
มีจิตกระสับกระส่าย และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับ
กระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับกระส่าย”
“ท่านผู้เจริญ แม้กระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งพระภาษิต
นั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านพระสารีบุตรเท่านั้นที่จะ
อธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง”
“คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

สักกายทิฏฐิ 20

นกุลปิตาคหบดีรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“คหบดี บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชน1ในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ2 ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย