เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 1. อันตวรรค 2. ทุกขสูตร

1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
2. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
3. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
นี้เรียกว่า ที่สุดคือเหตุเกิดแห่งสักกายะ
ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ
ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้เรียกว่า ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ
ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด 4 อย่าง เหล่านี้แล”

อันตสูตรที่ 1 จบ

2. ทุกขสูตร
ว่าด้วยทุกข์

[104] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ ทุกขสมุทัย
(เหตุเกิดทุกข์) ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติ
ที่ให้ถึงความดับทุกข์) เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :199 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 1. อันตวรรค 2. ทุกขสูตร

ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ‘ทุกข์นั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5 ประการ’
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ 5. วิญญาณูปาทานขันธ์
นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขสมุทัย เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
1. กามตัณหา
2. ภวตัณหา
3. วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกขนิโรธ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุกขสูตรที่ 2 จบ