เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 5. ปุปผวรรค 9. วาสิชฏิสูตร

เพราะเธอไม่ได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ ไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน 4
ประการ ไม่ได้เจริญอิทธิบาท 4 ประการ ไม่ได้เจริญอินทรีย์ 5 ประการ ไม่
ได้เจริญพละ 5 ประการ ไม่ได้เจริญโพชฌงค์ 7 ประการ ไม่ได้เจริญอริยมรรค
มีองค์ 8
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ถึงจะไม่มีความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่
ถือมั่น’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอได้เจริญ’
เพราะเธอได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอได้เจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ ได้เจริญสัมมัปปธาน
4 ประการ ได้เจริญอิทธิบาท 4 ประการ ได้เจริญอินทรีย์ 5 ประการ ได้เจริญ
พละ 5 ประการ ได้เจริญโพชฌงค์ 7 ประการ ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ 8
ไข่ไก่ 8 ฟอง 10 ฟอง หรือ 12 ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่ทับ กก ฟักไว้ดี
แม่ไก่นั้นถึงจะไม่มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ ลูกของเราจึงจะ
ทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดี’
ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า
หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่ไก่
8 ฟอง 10 ฟอง หรือ 12 ฟองนั้น แม่ไก่ทับ กก ฟักไว้ดีแล้ว แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อภิกษุประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ถึงจะไม่มีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอได้เจริญ’
เพราะเธอได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอได้เจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ ได้เจริญสัมมัปปธาน 4
ประการ ได้เจริญอิทธิบาท 4 ประการ ได้เจริญอินทรีย์ 5 ประการ ได้เจริญ
พละ 5 ประการ ได้เจริญโพชฌงค์ 7 ประการ ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ 8

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :194 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 5. ปุปผวรรค 10. อนิจจสัญญาสูตร

รอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือปรากฏอยู่ที่ด้ามมีดของช่างไม้หรือลูกมือ
ของช่างไม้ แต่ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้นั้น หารู้ไม่ว่า ‘วันนี้ ด้ามมีดของเรา
สึกไปประมาณเท่านี้ เมื่อวานนี้ สึกไปประมาณเท่านี้ วันก่อน ๆ สึกไปประมาณ
เท่านี้’ ที่แท้เมื่อด้ามมีดสึกไปแล้ว ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้นั้น ก็รู้ว่า ‘สึกไปแล้ว’
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ หารู้ไม่ว่า ‘วันนี้
อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปประมาณเท่านี้ เมื่อวานนี้ สิ้นไปประมาณเท่านี้
วันก่อน ๆ สิ้นไปประมาณเท่านี้’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็รู้ว่า
‘สิ้นไปแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วยเครื่องผูกคือหวายจอดอยู่ในน้ำ
ตลอดฤดูฝน พอถึงฤดูหนาวเขาก็เข็นขึ้นบก เครื่องผูกเหล่านั้นต้องลมและแดด
ถูกฝนตกรด ย่อมผุเปื่อยไปโดยง่าย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ
ประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ สังโยชน์ทั้งหลาย ก็เสื่อมสิ้นไปโดยง่ายเช่นกัน”1

วาสิชฏสูตรที่ 9 จบ

10. อนิจจสัญญาสูตร
ว่าด้วยอนิจจสัญญา

[102] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่า
ไม่เที่ยง) ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะ (ความติดใจใน
กามคุณ) รูปราคะ (ความติดใจในรูปธรรม) ภวราคะ (ความติดใจในภพ) และอวิชชา
(ความไม่รู้จริง) ทั้งปวงได้ ถอนอัสมิมานะ (ความถือตัวว่าเป็นเรา) ทั้งปวงได้
ในสารทฤดู ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายราก (หญ้า) ที่
เกี่ยวเนื่องทุกชนิด แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมครอบงำกามราคะ รูปราคะ ภวราคะ และอวิชชาทั้งปวงได้
ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้