เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 5. ปุปผวรรค 4. โคมยปิณฑสูตร

มีม้าต้น 84,000 ม้า ซึ่งมีเครื่องประดับทำด้วยทอง คลุมด้วยข่ายทอง
มีม้าวลาหกอัศวราชเป็นหัวหน้า
มีรถทรง 84,000 คัน มีเครื่องประดับทำด้วยทอง มีธงทำด้วยทอง คลุม
ด้วยข่ายทอง มีเวชยันตราชรถเป็นประธาน
มีแก้ว 84,000 ดวง มีแก้วมณีเป็นประธาน
มีพระสนม 84,000 นาง มีพระนางสุภัททาเทวีเป็นหัวหน้า
มีกษัตริย์ 84,000 พระองค์ตามเสด็จ มีขุนพลแก้วเป็นประมุข
มีแม่โคนม 84,000 ตัว ผูกด้วยเชือกป่าน แขวนกระดิ่งสำริด
มีผ้า 84,000 โกฏิ คือผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหมเนื้อละเอียด
ผ้าขนสัตว์เนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด
มีภาชนะทอง 84,000 สำรับ ซึ่งชนทั้งหลายใส่อาหารนำมาทั้งในเวลาเย็น
และในเวลาเช้า
ภิกษุ ก็บรรดาเมือง 84,000 เมืองนั้น เมืองที่เราครองในสมัยนั้นมีเมือง
เดียวเท่านั้น คือกุสาวดีราชธานี
บรรดาปราสาท 84,000 องค์นั้น ปราสาทที่เราครองในสมัยนั้นมีหลัง
เดียวเท่านั้น คือธรรมปราสาท
บรรดาเรือนยอด 84,000 หลังนั้น เรือนยอดที่เราครองในสมัยนั้นมีหลัง
เดียวเท่านั้น คือเรือนยอดมหาพยูหะ
บรรดาบัลลังก์ 84,000 บัลลังก์นั้น บัลลังก์ที่เรานั่งในสมัยนั้นมีบัลลังก์
เดียวเท่านั้น คือบัลลังก์ที่ทำด้วยงา ทำด้วยแก่นจันทน์แดง ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน
บรรดาช้างต้น 84,000 ช้างนั้น ช้างที่เราทรงในสมัยนั้นมีช้างเดียวเท่านั้น
คือพญาช้างอุโบสถ
บรรดาม้าต้น 84,000 ม้านั้น ม้าที่เราทรงในสมัยนั้นมีม้าเดียวเท่านั้น
คือม้าวลาหกอัศวราช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :185 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 5. ปุปผวรรค 5. นขสิขาสูตร

บรรดาราชรถ 84,000 คันนั้น ราชรถที่เราทรงในสมัยนั้นมีคันเดียวเท่านั้น
คือเวชยันตราชรถ
บรรดาพระสนม 84,000 นางนั้น พระสนมที่เรายกย่องในสมัยนั้นมีนาง
เดียวเท่านั้น คือนางขัตติยานีหรือนางเวลามิกา1
บรรดาผ้า 84,000 โกฏินั้น ผ้าที่เราทรงในสมัยนั้นมีคู่เดียวเท่านั้น คือ
ผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหมเนื้อละเอียด ผ้าขนสัตว์เนื้อละเอียด หรือผ้าฝ้าย
เนื้อละเอียด
บรรดาภาชนะทอง 84,000 สำรับนั้น ภาชนะทองซึ่งใส่ข้าวสุกที่หุงจาก
ข้าวสาร 1 ทะนานเป็นอย่างมากและแกงกับอันพอเหมาะแก่ข้าวนั้นที่เราบริโภคมี
สำรับเดียวเท่านั้น
ภิกษุ สังขารทั้งปวงนั้น ล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ด้วยประการดังนี้
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่
น่าเบาใจอย่างนี้ ก็สังขารทั้งปวงมีลักษณะที่ไม่เที่ยงอย่างนี้ ควรทีเดียวที่จะ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด พ้นไปจากสังขารทั้งปวง”

โคมยปิณฑสูตรที่ 4 จบ

5. นขสิขาสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยฝุ่นที่ปลายเล็บ

[97] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ