เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 5. ปุปผวรรค 3. เผณปิณฑูปมสูตร

ภิกษุเห็น เพ่ง พิจารณาวิญญาณนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง พิจารณา
วิญญาณนั้นโดยแยบคาย วิญญาณก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย
สาระในวิญญาณจะมีได้อย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อม
หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ฯลฯ ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
ทรงแสดงแล้วว่า ‘รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ
เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด
สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยมายากล
ภิกษุเพ่งพิจารณาเห็นขันธ์ 5 นั้นโดยแยบคายด้วยประการใด ๆ
ขันธ์ 5 นั้น ก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่าด้วยประการนั้นๆ
การละธรรม 3 ประการซึ่งพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีปัญญาดุจแผ่นดิน ทรงปรารภกายนี้ แสดงไว้แล้ว
ท่านทั้งหลาย จงดูรูปที่บุคคลทิ้งแล้ว
เมื่อใด อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้
เมื่อนั้น กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนเป็นเหยื่อของสัตว์อื่น
ปราศจากเจตนา ความสืบต่อเป็นเช่นนี้
นี้เป็นมายากลสำหรับหลอกลวงคนโง่
ขันธ์ 5 เปรียบเหมือนเพชฌฆาต
เราบอกแล้ว สาระในขันธ์ 5 นี้ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :182 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 5. ปุปผวรรค 4. โคมยปิณฑสูตร

ภิกษุผู้ปรารภความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ
พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ทั้งกลางวันและกลางคืน
ภิกษุเมื่อปรารถนาบทอันไม่จุติ1
พึงละสังโยชน์2ทั้งปวง ทำที่พึ่งแก่ตน
ประพฤติดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะฉะนั้น”

เผณปิณฑูปมสูตรที่ 3 จบ

4. โคมยปิณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนโคมัย

[96] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน
ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ”