เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 6. ปฏิสัลลานสูตร

คือ ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูป เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึด
ติดรูป ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในรูปเป็นอุปาทาน เพราะ
อุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดเวทนา ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสัญญา ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสังขาร ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดวิญญาณ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึด
ติดวิญญาณ ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในวิญญาณเป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสังขาร นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณ
อะไรเป็นความดับแห่งรูป ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ
แห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดอะไรเล่า
คือ ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติดรูป ความเพลิดเพลินในรูปจึงดับ เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล
นี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดเวทนา เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่
เชยชม ไม่ยึดติดเวทนา ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงดับ เพราะความเพลิดเพลิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :18 }