เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 5. ปุปผวรรค 2. ปุปผสูตร

อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี เราก็กล่าวว่า ‘มี‘
คือ รูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็
กล่าวรูปนั้นว่า ‘มี’
เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็
กล่าววิญญาณนั้นว่า ‘มี’
นี้แลชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวว่า ‘มี’
โลกธรรม1มีอยู่ในโลก ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งโลกธรรมนั้นแล้ว จึงบอก2 แสดง3
บัญญัติ4 กำหนด5 เปิดเผย6 จำแนก7 ทำให้ง่าย8
ก็อะไรเล่าชื่อว่าโลกธรรมในโลก ที่ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งแล้ว จึงบอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
คือ รูปจัดเป็นโลกธรรมในโลก ที่ตถาคตตรัสรู้ ฯลฯ ทำให้ง่าย
บุคคลใด เมื่อตถาคตบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายอยู่อย่างนี้ ยังไม่รู้ ไม่เห็น เราจะทำอะไรกับบุคคลผู้โง่เขลา เป็นปุถุชน
คนบอด ไม่มีดวงตา ไม่รู้ ไม่เห็นนั้นได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 5. ปุปผวรรค 3. เผณปิณฑูปมสูตร

เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณจัดเป็นโลกธรรมในโลกที่ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งแล้ว จึงบอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
บุคคลใด เมื่อตถาคตบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายอยู่อย่างนี้ ยังไม่รู้ ไม่เห็น เราจะทำอะไรกับบุคคลผู้โง่เขลา เป็นปุถุชน
คนบอด ไม่มีดวงตา ไม่รู้ ไม่เห็นนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ โผล่พ้นน้ำแล้วตั้งอยู่ แต่ไม่ติดน้ำ แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เกิดในโลก เจริญในโลก ครอบงำโลกอยู่ แต่ไม่ติดโลก”

ปุปผสูตรที่ 2 จบ

3. เผณปิณฑูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ

[95] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตเมือง
อยุชฌา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้พึงพัดฟองน้ำกลุ่มใหญ่มา บุรุษผู้มีตาดีก็จะพึง
เห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำกลุ่มใหญ่นั้นโดยแยบคายได้ เมื่อเขาเห็น เพ่ง
พิจารณาฟองน้ำกลุ่มใหญ่นั้นโดยแยบคาย ฟองน้ำก็จะพึงปรากฏเป็นของว่าง เปล่า
หาสาระมิได้เลย สาระในฟองน้ำจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด รูปอย่างใดอย่างหนึ่งก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม
ภิกษุเห็น เพ่ง พิจารณารูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง พิจารณารูปนั้น
โดยแยบคาย รูปก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในรูปจะมี
ได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :180 }