เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 5. ปุปผวรรค 2. ปุปผสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

นทีสูตรที่ 1 จบ

2. ปุปผสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดอกไม้

[94] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ขัดแย้งกับโลก แต่โลกขัดแย้งกับเรา
ผู้กล่าวเป็นธรรมไม่ขัดแย้งกับใคร ๆ ในโลก สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้
เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า ‘ไม่มี’ สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า ‘มี’
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี เราก็กล่าวว่า ‘ไม่มี‘
คือ รูปที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี
แม้เราก็กล่าวรูปนั้นว่า ‘ไม่มี’
เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี
แม้เราก็กล่าววิญญาณนั้นว่า ‘ไม่มี’
นี้แลชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่มี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :178 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 5. ปุปผวรรค 2. ปุปผสูตร

อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี เราก็กล่าวว่า ‘มี‘
คือ รูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็
กล่าวรูปนั้นว่า ‘มี’
เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็
กล่าววิญญาณนั้นว่า ‘มี’
นี้แลชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวว่า ‘มี’
โลกธรรม1มีอยู่ในโลก ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งโลกธรรมนั้นแล้ว จึงบอก2 แสดง3
บัญญัติ4 กำหนด5 เปิดเผย6 จำแนก7 ทำให้ง่าย8
ก็อะไรเล่าชื่อว่าโลกธรรมในโลก ที่ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งแล้ว จึงบอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
คือ รูปจัดเป็นโลกธรรมในโลก ที่ตถาคตตรัสรู้ ฯลฯ ทำให้ง่าย
บุคคลใด เมื่อตถาคตบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายอยู่อย่างนี้ ยังไม่รู้ ไม่เห็น เราจะทำอะไรกับบุคคลผู้โง่เขลา เป็นปุถุชน
คนบอด ไม่มีดวงตา ไม่รู้ ไม่เห็นนั้นได้