เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 9. ราหุลสูตร

กัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัดว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
กัจจานะ ที่สุดอย่างที่ 1 นี้ คือ สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ที่สุดอย่างที่ 2 นี้ คือ
สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง 2 นี้แสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแลดับ
ไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความ
ดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้”
ท่านพระฉันนะกล่าวว่า “ท่านอานนท์ ข้อที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เช่น
กับท่านเป็นผู้อนุเคราะห์ มุ่งประโยชน์ ว่ากล่าว พร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้น
และเพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านอานนท์ ผมจึงได้บรรลุธรรม”

ฉันนสูตรที่ 8 จบ

9. ราหุลสูตร
ว่าด้วยพระราหุล

[91] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยในกายที่มี
วิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคลเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :174 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 10. ทุติยราหุลสูตร

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก ฯลฯ บุคคลเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ราหุล เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”

ราหุลสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยราหุลสูตร
ว่าด้วยพระราหุล สูตรที่ 2

[92] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราหุลนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
บุคคลรู้ เห็นอย่างไร ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัยในกาย
ที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ
หลุดพ้นดีแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด ฯลฯ ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม บุคคลเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะ
ไม่ถือมั่น
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคล
เห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :175 }