เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 8. ฉันนสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะได้มีความคิดว่า “แม้เราก็มีความคิดว่า ‘รูป
ไม่เที่ยง เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่
ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละอุปธิทั้งปวง เป็นที่
สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอกราคะ เป็นที่ดับ(ทุกข์) เป็นที่ดับ(ตัณหา) ความสะดุ้งกลัว
และอุปาทานก็เกิดขึ้น ใจจึงท้อถอย เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นอัตตาของเรา
แต่ความคิดอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม ใครเล่าจะแสดงธรรมแก่เรา พอที่เรา
จะเห็นธรรมได้”
ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะได้มีความคิดต่อไปว่า “ท่านอานนท์นี้อยู่ ณ
โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนก็ยกย่อง จะสามารถแสดงธรรมแก่เรา พอที่เราจะเห็นธรรมได้
อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านอานนท์มาก ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาท่านอานนท์
ถึงที่อยู่”
ต่อมา ท่านพระฉันนะเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงโฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวว่า
“ท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี
ครั้นในเวลาเย็น ผมออกจากที่หลีกเร้น ถือลูกดาลเดินเข้าออกวิหารได้กล่าวว่า
‘ขอท่านทั้งหลาย จงตักเตือน พร่ำสอน แสดงธรรมีกถาแก่ผม พอที่ผมจะเห็น
ธรรมได้’ เมื่อผมกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายได้กล่าวว่า ‘ฉันนะ รูปไม่เที่ยง
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’
ท่านผู้มีอายุ ผมได้มีความคิดว่า ‘แม้เราก็มีความคิดว่า ‘รูปไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ
เป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :172 }