เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 7. เขมกสูตร

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบอย่างไร”
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า ‘กลิ่นของดอก”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีรูป’ ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามี
นอกจากรูป’ ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ’
ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากวิญญาณ’ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ในอุปาทานขันธ์
5 ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’
โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) 5 ประการพระอริยสาวกละได้แล้วก็
จริง แต่ท่านก็ยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ 5
ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ ต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ 5 ประการว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ...
สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’ เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้อยู่ ถึงแม้ท่านจะยังถอนมานะ ฉันทะ
และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ 5 ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ
และอนุสัยก็ถูกเพิกถอนขึ้นได้
ผ้าสกปรกเปื้อนมลทิน เจ้าของผ้ามอบผ้านั้นให้แก่ช่างซักผ้า ช่างซักผ้าขยี้
ผ้านั้นในน้ำด่างเกลือ น้ำด่างขี้เถ้า หรือในโคมัยแล้ว ซักในน้ำสะอาด ผ้านั้น
สะอาดก็จริง แต่ผ้านั้นก็ยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ กลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า หรือกลิ่น
โคมัยที่ติดอยู่ ช่างซักผ้ามอบผ้านั้นคืนให้เจ้าของไป เจ้าของเก็บผ้านั้นใส่ไว้ในหีบ
อบด้วยกลิ่น แม้ผ้านั้นจะยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ กลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า หรือกลิ่น
โคมัยที่ติดอยู่ แต่กลิ่นนั้นก็หายไป แม้ฉันใด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็
ยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ 5 ประการว่า ‘เรามี’
ไม่ได้ ต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทาน-
ขันธ์ 5 ประการว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :170 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 8. ฉันนสูตร

แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ... สังขารเป็นอย่างนี้
... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้’ เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน
อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้อยู่ ถึงแม้ท่านจะยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัย
อย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ 5 ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ
และอนุสัยก็ถูกเพิกถอนขึ้นได้”
เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายได้กล่าวว่า “พวกผม
ไม่ได้ถามมุ่งเบียดเบียนท่านเลย แต่ท่านเขมกะสามารถบอก แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นโดยพิสดาร
ตามที่ท่านบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายแล้วโดยพิสดาร”
ท่านพระเขมกะได้กล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายมีใจยินดี ต่างชื่นชม
ภาษิตของท่านเขมกะ ก็เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ
พระเถระประมาณ 60 รูปและของท่านพระเขมกะ ก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่
ถือมั่น

เขมกสูตรที่ 7 จบ

8. ฉันนสูตร
ว่าด้วยพระฉันนะ

[90] สมัยหนึ่ง พระเถระจำนวนมากอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขต
กรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระฉันนะออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ถือลูกดาล
เดินเข้าออกวิหารกล่าวว่า “ขอท่านทั้งหลาย จงตักเตือน พร่ำสอน แสดง
ธรรมีกถาแก่ผม พอที่ผมจะเห็นธรรมได้”
เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกับท่านว่า
“ท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :171 }