เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 7. เขมกสูตร

“มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘ท่าน
เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร
ท่านกล่าวว่า ‘เรามีรูป’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากรูป’ ท่านกล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ท่านกล่าวว่า ‘เรามีวิญญาณ’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจาก
วิญญาณ’ ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร”
ท่านพระทาสกะรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ได้กล่าวว่า ‘ท่าน
เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร
ท่านกล่าวว่า ‘เรามีรูป’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากรูป’ ท่านกล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ท่านกล่าวว่า ‘เรามีวิญญาณ’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจาก
วิญญาณ’ ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร”
“พอทีเถิด ท่านทาสกะ การเดินไปเดินมาบ่อย ๆ นี้จะมีประโยชน์อะไร
ท่านจงหยิบไม้เท้ามา ผมจักเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายเอง”
ลำดับนั้น ท่านพระเขมกะยันไม้เท้าเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้ว พระเถระทั้งหลายได้ถามว่า “ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’
นั้นคืออย่างไร ท่านกล่าวว่า ‘เรามีรูป’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากรูป’ ท่านกล่าวว่า
‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ท่านกล่าวว่า ‘เรามีวิญญาณ’ กล่าวว่า
‘เรามีนอกจากวิญญาณ’ ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีรูป’ ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามี
นอกจากรูป’ ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ’
ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากวิญญาณ’ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ในอุปาทานขันธ์
5 ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลิ่นดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอก
บุณฑริกก็ดี ผู้ที่กล่าวว่า ‘กลิ่นของใบ’ ว่า ‘กลิ่นของสี’ หรือว่า ‘กลิ่นของเกสร’
อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง ท่านผู้มีอายุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :169 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 7. เขมกสูตร

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบอย่างไร”
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า ‘กลิ่นของดอก”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีรูป’ ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามี
นอกจากรูป’ ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ’
ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากวิญญาณ’ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ในอุปาทานขันธ์
5 ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’
โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) 5 ประการพระอริยสาวกละได้แล้วก็
จริง แต่ท่านก็ยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ 5
ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ ต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ 5 ประการว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ...
สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’ เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้อยู่ ถึงแม้ท่านจะยังถอนมานะ ฉันทะ
และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ 5 ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ
และอนุสัยก็ถูกเพิกถอนขึ้นได้
ผ้าสกปรกเปื้อนมลทิน เจ้าของผ้ามอบผ้านั้นให้แก่ช่างซักผ้า ช่างซักผ้าขยี้
ผ้านั้นในน้ำด่างเกลือ น้ำด่างขี้เถ้า หรือในโคมัยแล้ว ซักในน้ำสะอาด ผ้านั้น
สะอาดก็จริง แต่ผ้านั้นก็ยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ กลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า หรือกลิ่น
โคมัยที่ติดอยู่ ช่างซักผ้ามอบผ้านั้นคืนให้เจ้าของไป เจ้าของเก็บผ้านั้นใส่ไว้ในหีบ
อบด้วยกลิ่น แม้ผ้านั้นจะยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ กลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า หรือกลิ่น
โคมัยที่ติดอยู่ แต่กลิ่นนั้นก็หายไป แม้ฉันใด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็
ยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ 5 ประการว่า ‘เรามี’
ไม่ได้ ต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทาน-
ขันธ์ 5 ประการว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :170 }