เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 6. อัสสซิสูตร

“เมื่อก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) บรรเทาความ
ป่วยไข้อยู่จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิจึงคิดอย่างนี้ว่า ‘เรายังไม่เสื่อม
จากสมาธินั้นหรือ’ พระพุทธเจ้าข้า”
“อัสสชิ สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่มีสมาธิเป็นแก่นสาร มีสมาธิเป็นคุณแห่ง
สมณะ เมื่อไม่ได้สมาธินั้นจึงคิดว่า ‘เรายังไม่เสื่อมจากสมาธินั้นหรือ’
อัสสชิ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
ถ้าอริยสาวกนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า
‘ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้า
เธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ ฯลฯ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ
เสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ถ้าอริยสาวกนั้นเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกาย
เป็นที่สุด’ ถ้าอริยสาวกเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามี
ชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจากตายไปก็รู้ชัดว่า ‘ความเสวยอารมณ์ทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
อัสสชิ เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมัน
และไส้ ตะเกียงน้ำมันนั้นจึงหมดเชื้อดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :165 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 7. เขมกสูตร

เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจากตายไป
ก็รู้ชัดว่า ‘ความเสวยอารมณ์ทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว”1

อัสสชิสูตรที่ 6 จบ

7. เขมกสูตร
ว่าด้วยพระเขมกะ

[89] สมัยหนึ่ง พระเถระจำนวนมากอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้น ท่านพระเขมกะอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก พักอยู่ที่พทริการาม
ครั้นในเวลาเย็น พระเถระทั้งหลายออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เรียกท่านพระ
ทาสกะมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้ว
บอกว่า ‘ท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายถามถึงท่านว่า ‘เธอยังสบายดีหรือ ยังพอ
เป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการ
กำเริบไม่ปรากฏหรือ'’
ท่านพระทาสกะรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ได้กล่าวว่า ‘ท่าน
เขมกะ พระเถระทั้งหลายถามถึงท่านว่า ‘เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ
ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านพระเขมกะตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนา
มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ”
ครั้งนั้น ท่านพระทาสกะเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายถึงที่อยู่แล้วเรียนว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเขมกะกล่าวว่า ‘ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกข-
เวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่
ปรากฏ”
“มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘ท่าน
เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ 5
ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่