เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 3. ยมกสูตร

ไม่รู้ชัดรูปที่เป็นผู้ฆ่าตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นผู้ฆ่า’ ... เวทนาที่เป็นผู้ฆ่า ...
สัญญาที่เป็นผู้ฆ่า ... สังขารที่เป็นผู้ฆ่า ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่เป็นผู้ฆ่าตามความ
เป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นผู้ฆ่า’
เขาเข้าไปยึดมั่นรูปว่า ‘เป็นอัตตาของเรา’ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
... เข้าไปยึดมั่นวิญญาณว่า ‘เป็นอัตตาของเรา’ อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ที่
ปุถุชนนั้นเข้าไปยึดมั่น ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอด
กาลนาน
ท่านผู้มีอายุ ส่วนพระอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ฯลฯ ได้รับการแนะนำใน
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่า
มีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่พิจารณา
เห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
เขารู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ รู้ชัดเวทนาที่ไม่เที่ยง ...
สัญญาที่ไม่เที่ยง ... สังขารที่ไม่เที่ยง ... รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า
‘วิญญาณไม่เที่ยง’
รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นทุกข์’ รู้ชัดเวทนาที่เป็นทุกข์
... สัญญาที่เป็นทุกข์ ... สังขารที่เป็นทุกข์ ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์ตามความ
เป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นทุกข์’
รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’ รู้ชัดเวทนาที่เป็น
อนัตตา ... สัญญาที่เป็นอนัตตา ... สังขารที่เป็นอนัตตา ... รู้ชัดวิญญาณที่
เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นอนัตตา’
รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘รูปถูกปัจจัยปรุงแต่ง’ รู้ชัด
เวทนาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สัญญาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สังขารที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง ... รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :152 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 4. อนุราธสูตร

รู้ชัดรูปที่เป็นผู้ฆ่าตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นผู้ฆ่า’ รู้ชัดเวทนาที่เป็นผู้ฆ่า ...
สัญญาที่เป็นผู้ฆ่า ... รู้ชัดสังขารที่เป็นผู้ฆ่าตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารเป็นผู้ฆ่า’
รู้ชัดวิญญาณที่เป็นผู้ฆ่าตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นผู้ฆ่า’
เขาไม่เข้าไปยึดมั่นรูปว่า ‘รูปเป็นอัตตาของเรา’ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
... ไม่เข้าไปยึดมั่นวิญญาณว่า ‘วิญญาณเป็นอัตตาของเรา’ อุปาทานขันธ์ 5
ประการนี้ที่พระอริยสาวกนั้นไม่เข้าไปยึดมั่น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขตลอดกาลนาน”
“ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้อที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เช่นกับท่านเป็นผู้อนุเคราะห์
มุ่งประโยชน์ ว่ากล่าว พร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้น และเพราะได้ฟังธรรมเทศนา
นี้ของท่านสารีบุตร จิตของผมจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น”

ยมกสูตรที่ 3 จบ

4. อนุราธสูตร1
ว่าด้วยพระอนุราธะ

[86] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กุฎีป่า ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น อัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุราธะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระอนุราธะดังนี้ว่า “ท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็น
บรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น
ย่อมทรงบัญญัติในฐานะ 4 ประการนี้ คือ
1. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
2. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
3. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
4. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
หรือ”