เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 3. หลิททิกานิสูตร

คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ‘ท่าน
ไม่รู้พระธรรมวินัยนี้ เรารู้พระธรรมวินัยนี้ ท่านรู้พระธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่าน
ปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านก็กล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าว
ทีหลัง ท่านก็กล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ข้อที่
ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรากล่าวหาท่าน ท่านจงแก้ข้อกล่าวหาเสีย เราข่ม
ท่านได้แล้ว หรือหากท่านสามารถก็จงแก้ไขเถิด’
คหบดี บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่กล่าวถ้อยคำขัดแย้ง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า
‘ท่านไม่รู้พระธรรมวินัยนี้ เรารู้พระธรรมวินัยนี้ ท่านรู้พระธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านก็กล่าวทีหลัง คำที่ควร
กล่าวทีหลัง ท่านก็กล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์
ข้อที่ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรากล่าวหาท่าน ท่านจงแก้ข้อกล่าวหาเสีย
เราข่มท่านได้แล้ว หรือหากท่านสามารถก็จงแก้ไขเถิด’
คหบดี บุคคลผู้ไม่กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างนี้แล
คหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมาคัณฑิยปัญหา อันมาใน
อัฏฐกวรรคว่า
‘บุคคลละที่อยู่แล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในบ้าน ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน’
คหบดี เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ พึงทราบ
โดยพิสดารอย่างนี้แล”

หลิททิกานิสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 4. ทุติยหลิททิกานิสูตร

4. ทุติยหลิททิกานิสูตร
ว่าด้วยหลิททิกานิคหบดี สูตรที่ 2

[4] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน เขตเมือง
กุรรฆระ แคว้นอวันตี ครั้งนั้น คหบดีชื่อหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ
ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหา1ว่า ‘สมณ-
พราหมณ์ ผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จขั้นสูงสุด2 มีความ
เกษมจากโยคะ3ขั้นสูงสุด มีพรหมจรรย์4ขั้นสูงสุด มีจุดหมาย5ขั้นสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบโดยพิสดารอย่างไร”
พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า “คหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่น
ถือมั่นและนอนเนื่องในรูปธาตุ ท่านกล่าวว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ เพราะความสิ้นไป
คลายกำหนัด ดับ สละ ปล่อยวางความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น
ความพอใจ ความกำหนัด ... ในเวทนาธาตุ ฯลฯ ในสัญญาธาตุ ฯลฯ
ในสังขารธาตุ ฯลฯ
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณธาตุ
ท่านกล่าวว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ เพราะความสิ้นไป คลายกำหนัด ดับ สละ
ปล่อยวางความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น
คหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสักกปัญหาว่า ‘สมณพราหมณ์
ผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จขั้นสูงสุด มีความเกษมจากโยคะ