เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 3. ยมกสูตร

“ท่านยมกะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านพิจารณาเห็นว่า
‘ตถาคตมีในรูป’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากรูป’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในเวทนา’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“... ในเวทนา ฯลฯ นอกจากเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ... นอกจากสัญญา
... ในสังขารทั้งหลาย ... นอกจากสังขารทั้งหลาย ...
“ท่านพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านยมกะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านพิจารณาเห็นรูป ...
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านยมกะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านพิจารณาเห็นว่า
‘ตถาคตนี้ไม่มีรูป’ ... ไม่มีเวทนา ... ไม่มีสัญญา ... ไม่มีสังขาร ... ไม่มี
วิญญาณหรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านยมกะ แท้จริง ท่านจะค้นหาตถาคตในขันธ์ 5 ประการนี้ในปัจจุบัน
ไม่ได้เลย ควรหรือที่ท่านจะกล่าวว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ไว้ว่า ‘ภิกษุขีณาสพหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :149 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 4. เถรวรรค 3. ยมกสูตร

“ท่านสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้จึงได้เกิดทิฏฐิชั่วเช่นนั้น แต่บัดนี้ เพราะฟัง
ธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร ผมจึงละทิฏฐิชั่วนั้นได้แล้ว และได้บรรลุธรรม”
“ท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลายพึงถามท่านอย่างนี้ว่า ‘ท่านยมกะ ภิกษุอรหันต-
ขีณาสพ หลังจากตายแล้วเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนี้จะพึงตอบอย่างไร”
“ท่านผู้มีอายุ ถ้าพวกเขาถามอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุอรหันตขีณาสพหลังจากตาย
แล้วเป็นอะไร’ ผมถูกถามอย่างนี้จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นดับไปแล้ว ตั้งอยู่ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ ผมถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ท่านยมกะ ถ้าอย่างนั้น ผมจะยกอุปมาให้ท่านฟัง เพื่อเข้าใจ
เนื้อความนั้นชัดเจนขึ้น เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก และมีการอารักขาอย่างกวดขัน เกิดมีบุรุษคนหนึ่งมุ่งความพินาศ
ความไม่เป็นประโยชน์ และความไม่ปลอดภัย อยากจะปลิดชีวิตเขาเสีย เขาจึง
มีความคิดว่า ‘คหบดีหรือบุตรคหบดีผู้นี้เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเขามีการอารักขาอย่างกวดขัน การที่จะอุกอาจปลิดชีวิตเขามิใช่ทำได้ง่าย
ทางที่ดี เราควรใช้อุบายปลิดชีวิตเสีย’
เขาพึงเข้าไปหาคหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมจะขอรับใช้ท่าน’
คหบดีหรือบุตรคหบดีพึงรับเขาไว้ เขารับใช้อย่างดี คือ มีปกติตื่นก่อน นอนทีหลัง
คอยฟังคำสั่ง ประพฤติตนให้เป็นที่พอใจ พูดแต่คำไพเราะ คหบดีหรือบุตรคหบดี
นั้นเชื่อว่าเขาเป็นมิตรสหาย และไว้ใจเขา เมื่อใด บุรุษนั้นคิดว่า ‘คหบดีหรือบุตร
คหบดีนี้ไว้ใจเราแล้ว’ เมื่อนั้น เขารู้ว่าคหบดีหรือบุตรคหบดีอยู่ในที่ลับ จึงใช้ศัสตรา
อันคมปลิดชีวิตเสีย
ท่านยมกะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
ในกาลใด บุรุษนั้นเข้าไปหาคหบดีหรือบุตรคหบดีโน้นแล้วกล่าวว่า ‘ผมจะ
ขอรับใช้ท่าน’ แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่านั่นเอง แต่คหบดีหรือบุตรคหบดี
นั้นก็ไม่รู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า ‘เป็นผู้ฆ่าตน’ แม้ในกาลใด บุรุษนั้นรับใช้อย่างดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :150 }