เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 8.ปิณโฑลยสูตร

อกุศลวิตก 3 ประการนี้ดับไม่เหลือที่ไหน
คือ เมื่อบุคคลมีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน 4 ประการ หรือเจริญอนิมิตต-
สมาธิ อกุศลวิตก 3 ประการ ย่อมดับโดยไม่เหลือ อนิมิตตสมาธิควรแท้ที่
บุคคลจะเจริญ อนิมิตตสมาธิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ 2 ประการนี้ คือ
1. ภวทิฏฐิ (ความเห็นในภพ)
2. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นในวิภพ)
อริยสาวกผู้ได้สดับพิจารณาเห็นในทิฏฐิ 2 ประการนั้นเช่นนี้ว่า ‘เรายึดถือ
สิ่งใดอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นมีอยู่ในโลกบ้างไหม’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยึดถือสิ่งใดอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นไม่มีในโลกเลย ก็เราเมื่อยึดถือ พึงยึดถือรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั่นเอง เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จึงมีด้วย
ประการอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :128 }