เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 7. ขัชชนียสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ทำให้พินาศ ไม่ก่อ ละทิ้ง ไม่ถือมั่น
เรี่ยราย ไม่รวบรวมไว้ ทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :123 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 7. ขัชชนียสูตร

อริยสาวกทำอะไรให้พินาศ ไม่ก่ออะไร
คือ ทำรูปให้พินาศ ไม่ก่อรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ทำ
วิญญาณให้พินาศ ไม่ก่อวิญญาณ
ละทิ้งอะไร ไม่ถือมั่นอะไร
คือ ละทิ้งรูป ไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ละทิ้งวิญญาณ
ไม่ถือมั่นวิญญาณ
เรี่ยรายอะไร ไม่รวบรวมอะไรไว้
คือ เรี่ยรายรูป ไม่รวบรวมรูปไว้ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เรี่ยรายวิญญาณ ไม่รวบรวมวิญญาณไว้
ทำอะไรให้มอด ไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น
คือ ทำรูปให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้ลุกโพลงขึ้น ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... ทำวิญญาณให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้ลุกโพลงขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ไม่ก่อ ไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้
พินาศได้แล้วดำรงอยู่ ไม่ละทิ้ง ไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่ ไม่เรี่ยราย
ไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่ ไม่ทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น
แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
อริยสาวกไม่ก่ออะไร ไม่ทำอะไรให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้ว
ดำรงอยู่
คือ ไม่ก่อรูป ไม่ทำรูปให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... ไม่ก่อวิญญาณ ไม่ทำวิญญาณให้พินาศ แต่เป็นผู้
ทำให้พินาศได้แล้วดำรงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :124 }