เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 7. ขัชชนียสูตร

สัญญาอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีสัญญาอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงสังขาร
อย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีสังขารอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงวิญญาณอย่างนี้ว่า
‘ในอดีตกาล เรามีวิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป เพราะสลายไปจึงเรียกว่า ‘รูป’
สลายไปเพราะอะไร สลายไปเพราะหนาวบ้าง ร้อนบ้าง หิวบ้าง กระหายบ้าง
เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง เพราะสลายไป
จึงเรียกว่า ‘รูป’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าเวทนา เพราะเสวยจึงเรียกว่า ‘เวทนา’ เสวยอะไร เสวย
อารมณ์สุขบ้าง ทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เพราะเสวยจึงเรียกว่า ‘เวทนา’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าสัญญา เพราะจำได้หมายรู้จึงเรียกว่า ‘สัญญา’ จำได้
หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง เพราะ
จำได้หมายรู้จึงเรียกว่า ‘สัญญา’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าสังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า ‘สังขาร’
ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูปโดยความเป็นรูป เวทนา
โดยความเป็นเวทนา สัญญาโดยความเป็นสัญญา สังขารโดยความเป็นสังขาร
วิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า ‘สังขาร’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าวิญญาณ เพราะรู้แจ้งจึงเรียกว่า ‘วิญญาณ’ รู้แจ้งอะไร
รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง
รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง เพราะรู้แจ้งจึงเรียกว่า ‘วิญญาณ’
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้
เราถูกรูปเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูป
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมรูปที่เป็นอนาคต แม้ใน
อนาคตกาล เราก็พึงถูกรูปเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกรูปที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ใน
เวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมรูป
ที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :121 }