เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 6. สีหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ตถาคต1 อุบัติขึ้นในโลกเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
ตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่
ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค2 แสดงธรรมว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ...
สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’
เมื่อนั้น แม้เทพทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะงดงาม มีความสุขมาก สถิตอยู่
ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ได้สดับธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมากต่าง
ก็ถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้งว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเรา
เป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’
เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ถึงพวก
เราก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ3
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มาก
อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้กว่าโลกพร้อมทั้งเทวโลก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 7. ขัชชนียสูตร

“เมื่อใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา
หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้1 ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว
ทรงประกาศธรรมจักร2 คือ สักกายะ
ความดับแห่งสักกายะ และอริยมรรคมีองค์ 8
ที่ให้ถึงความดับทุกข์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก

เมื่อนั้น แม้พวกเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะ มียศ
ฟังคำของตถาคตผู้เป็นอรหันต์ หลุดพ้นแล้ว ผู้คงที่
ต่างก็หวาดหวั่นถึงความสะดุ้ง ดุจเนื้อกลัวราชสีห์ด้วยคิดว่า
‘ท่านผู้เจริญ ทราบว่าพวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ยังไม่ก้าวล่วงสักกายะ”

สีหสูตรที่ 6 จบ

7. ขัชชนียสูตร
ว่าด้วยผู้ถูกเคี้ยวกิน

[79] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง เมื่อระลึกก็ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดระลึกถึงอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 ประการ หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงรูปอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีรูปอย่างนี้’ เมื่อระลึก
ก็ระลึกถึงเวทนาอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีเวทนาอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึง