เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 6. สีหสูตร

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุดในโลกกว่าสัตว์
ในสัตตาวาสและภวัคคภพ”

ทุติยอรหันตสูตรที่ 5 จบ

6. สีหสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพญาราชสีห์

[78] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่
อาศัยบิดกายชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง 4 ทิศ บันลือสีหนาท 3 ครั้ง แล้วหลีกไปหา
เหยื่อ โดยมากพวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาราชสีห์บันลือสีหนาท
ย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้ง สัตว์พวกที่อาศัยอยู่ในโพรงก็หลบเข้า
โพรง พวกที่อาศัยอยู่ในน้ำก็ดำลงในน้ำ พวกที่อาศัยอยู่ในป่าก็หนีเข้าป่า พวก
สัตว์ปีกก็บินขึ้นสู่อากาศ แม้พญาช้างของพระมหากษัตริย์ ซึ่งผูกไว้ด้วยเชือกอย่าง
มั่นคงในหมู่บ้าน ตำบล และเมืองหลวง ก็ตัดทำลายเครื่องผูกเหล่านั้นจนขาด
ตกใจกลัว ถ่ายมูตรคูถ หนีไปทางใดทางหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย พญาราชสีห์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ
มากอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :118 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 6. สีหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ตถาคต1 อุบัติขึ้นในโลกเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
ตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่
ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค2 แสดงธรรมว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ...
สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’
เมื่อนั้น แม้เทพทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะงดงาม มีความสุขมาก สถิตอยู่
ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ได้สดับธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมากต่าง
ก็ถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้งว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเรา
เป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’
เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ถึงพวก
เราก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ3
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มาก
อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้กว่าโลกพร้อมทั้งเทวโลก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า