เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 2. อรหันตวรรค 10. สุราธสูตร

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ราธะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”
ฯลฯ
อนึ่ง ท่านพระราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ราธสูตรที่ 9 จบ

10. สุราธสูตร
ว่าด้วยพระสุราธะ

[72] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระสุราธะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ
หลุดพ้นดีแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สุราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณา
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :112 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 2. อรหันตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
สุราธะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และ
มานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
ฯลฯ
อนึ่ง ท่านพระสุราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

สุราธสูตรที่ 10 จบ
อรหันตวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อุปาทิยมานสูตร 2. มัญญมานสูตร
3. อภินันทมานสูตร 4. อนิจจสูตร
5. ทุกขสูตร 6. อนัตตสูตร
7. อนัตตนิยสูตร 8. รชนียสัณฐิตสูตร
9. ราธสูตร 10. สุราธสูตร