เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 2. อรหันตวรรค 8. รชนียสัณฐิตสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เธอพึงละความพอใจ
ในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อนัตตนิยสูตรที่ 7 จบ

8. รชนียสัณฐิตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่จูงใจให้กำหนัด

[70] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละความพอใจ
ในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด ข้าพระองค์พึงละความ
พอใจในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด
ข้าพระองค์พึงละความพอใจในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :110 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 2. อรหันตวรรค 9. ราธสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละ
ความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

รชนียสัณฐิตสูตรที่ 8 จบ

9. ราธสูตร
ว่าด้วยพระราธะ

[71] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไรจึงจะไม่มี
อหังการ1 มมังการ2 และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงใน
ภายนอก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...