เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 3. หลิททิกานิสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ก็จักมีการอยู่
เป็นทุกข์ เดือดร้อน1 คับแค้นใจ เร่าร้อน2 ในปัจจุบันทีเดียว และหลังจากตาย
แล้วพึงหวังได้ทุคติ พระผู้มีพระภาคก็จะไม่ทรงสรรเสริญความถึงพร้อมกุศลธรรม
ทั้งหลายไว้ แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย จึงมีการอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน
ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในปัจจุบันนี้ทีเดียว และหลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ
ฉะนั้น พระผู้พระภาคจึงทรงสรรเสริญความถึงพร้อมกุศลธรรมทั้งหลายไว้”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชม
ภาษิตของท่านพระสารีบุตร

เทวทหสูตรที่ 2 จบ

3. หลิททิกานิสูตร
ว่าด้วยหลิททิกานิคหบดี

[3] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน เขตเมืองกุรรฆระ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้น คหบดีชื่อหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้ในมาคัณฑิยปัญหาอันมาในอัฏฐกวรรคว่า
‘บุคคลละที่อยู่3แล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย4
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในบ้าน ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน‘5
ข้าแต่ท่านมหากัจจานะผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบโดยพิสดารอย่างไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 3. หลิททิกานิสูตร

ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “คหบดี รูปธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ
วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
เวทนาธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในเวทนาธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
สัญญาธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในสัญญาธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
สังขารธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในสังขารธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
คหบดี บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างไร
คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูปธาตุ
พระตถาคตทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ
ตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในเวทนาธาตุ ฯลฯ
ในสัญญาธาตุ ฯลฯ ในสังขารธาตุ ฯลฯ
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณธาตุ
พระตถาคตทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ
ตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
คหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างไร
คือ ความเที่ยวซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือรูปนิมิต ตรัสเรียกว่า
‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :12 }