เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 2. อรหันตวรรค 4. อนิจจสูตร

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อเพลิดเพลินรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่
เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อเพลิดเพลินเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เมื่อเพลิดเพลินวิญญาณ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว บุคคลเมื่อเพลิดเพลินรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่
เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อเพลิดเพลินเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เมื่อเพลิดเพลินวิญญาณ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อภินันทมานสูตรที่ 3 จบ

4. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[66] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
“ภิกษุ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ1 ในสิ่งนั้น”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 2. อรหันตวรรค 5. ทุกขสูตร

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปไม่เที่ยง ข้าพระองค์พึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ...สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง ข้าพระองค์พึงละความพอใจ
ในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อนิจจสูตรที่ 4 จบ

5. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[67] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :107 }