เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 10. นิรุตติปถสูตร

เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’
ตั้งชื่อเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ (แต่)
ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกสังขารเหล่านั้นว่า
‘จักมี’ ตั้งชื่อสังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติสังขารเหล่านั้นว่า
‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกสังขาร
เหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’
ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ (แต่)
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีแล้ว’
3. รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
‘มีอยู่’ และบัญญัติรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้ง
ชื่อเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่
เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกสังขารเหล่านั้นว่า
‘มีอยู่’ ตั้งชื่อสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติสังขารเหล่านั้น
ว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียก
สังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’
ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่)
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :101 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย หลักการ 3 ประการ คือ (1) หลักภาษา (2) หลักการตั้งชื่อ
(3) หลักการบัญญัติ ไม่ได้ถูกทอดทิ้ง ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จัก
ไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนคัดค้านแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบท กับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง 2 พวก
นั้นเป็นผู้มีอเหตุกวาทะ1 เป็นผู้มีอกิริยวาทะ2 เป็นผู้มีนัตถิกวาทะ3 ก็ได้สำคัญว่า
หลักการ 3 ประการ คือ (1) หลักภาษา (2) หลักการตั้งชื่อ (3) หลักการบัญญัติ
ไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษ
และถูกคัดค้าน”

นิรุตติปถสูตรที่ 10 จบ
อุปยวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อุปยสูตร 2. พีชสูตร
3. อุทานสูต 4. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
5. สัตตัฏฐานสูตร 6. สัมมาสัมพุทธสูตร
7. อนัตตลักขณสูต 8. มหาลิสูตร
9. อาทิตตสูตร 10. นิรุตติปถสูตร