เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
6. ทุกขวรรค 1. ปริวีมังสนสูตร

6. ทุกขวรรค
หมวดว่าด้วยทุกข์

1. ปริวีมังสนสูตร
ว่าด้วยการพิจารณา

[51] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุเมื่อพิจารณา จึงชื่อว่าพิจารณา
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ทุกประการ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความ
แห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
“ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘ชรา
และมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นในโลก ชราและมรณะที่เป็นทุกข์
นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดหนอ เมื่อ
อะไรมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่
จึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ชราและมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้
มีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด เมื่อชาติมี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
6. ทุกขวรรค 1. ปริวีมังสนสูตร

ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี” เธอรู้ชัดชราและมรณะ
รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาอัน
เหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และเธอเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าผู้
มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อ
ความดับแห่งชราและมรณะโดยชอบ ทุกประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘ชาตินี้ มีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี
เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ชาติมีภพเป็นเหตุ
มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อภพ
ไม่มี ชาติจึงไม่มี’ เธอรู้ชัดชาติ รู้ชัดความเกิดแห่งชาติ รู้ชัดความดับแห่งชาติ
รู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่า
ผู้มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์เพื่อ
ความดับชาติโดยชอบ ทุกประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘ภพนี้มีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ
อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘สังขารเหล่านี้มีอะไร
เป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี สังขาร
ทั้งหลายจึงมี เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้ชัดอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :100 }