เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
5. คหปติวรรค 8. โลกายติกสูตร

8. โลกายติกสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ1

[48] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม สิ่งทั้งปวงมีหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมี’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ 1”
“ท่านพระโคดม ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่มี’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ 2”
“ท่านพระโคดม สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน’ นี้ เป็นโลกายตะ
ข้อที่ 3”
“ท่านพระโคดม ก็สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกันหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกัน’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ 4
ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด 2 อย่างนั้น ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’

โลกายติกสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
5. คหปติวรรค 9. อริยสาวกสูตร

9. อริยสาวกสูตร
ว่าด้วยอริยสาวก

[49] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ...
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรมี
อะไรจึงมี เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น (เพราะอะไรมี สังขารทั้งหลายจึงมี
เพราะอะไรมี วิญญาณจึงมี) เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี
เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี
อุปาทานจึงมี เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและ
มรณะจึงมี’
โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลาย
จึงมี เมื่อสังขารทั้งหลายมี วิญญาณจึงมี) เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อนามรูปมี
สฬายตนะจึงมี เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อเวทนามี
ตัณหาจึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี ฯลฯ เมื่อชาติมี
ชราและมรณะจึงมี อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้เกิดขึ้นอย่างนี้’
อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ (เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี
วิญญาณจึงไม่มี) เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่อ
อะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
โดยที่แท้ อริสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ (เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลาย
จึงไม่มี เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณจึงไม่มี) เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :96 }