เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
4. กฬารขัตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เมื่อคติภพในการเวียนมามี จุติและอุบัติจึงมี เมื่อจุติและอุบัติมี ชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่นึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่เป็น
อารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยไม่มี ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว นติจึงไม่มี
เมื่อนติไม่มี คติภพในการเวียนมาจึงไม่มี เมื่อคติภพในการเวียนมาไม่มี จุติและอุบัติ
จึงไม่มี เมื่อจุติและอุบัติไม่มี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

ตติยเจตนาสูตรที่ 10 จบ
กฬารขัตติยวรรคที่ 4 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ภูตสูตร 2. กฬารสูตร
3. ญาณวัตถุสูตรร 4. ทุติยญาณวัตถุสูตร
5. อวิชชาปัจจยสูตรร 6. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร
7. นตุมหสูตรร 8. เจตนาสูตร
9. ทุติยเจตนาสูตรร 10. ตติยเจตนาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
5. คหปติวรรค 1. ปัญจเวรภยสูตร

5. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี

1. ปัญจเวรภยสูตร
ว่าด้วยภัยเวร 5 ประการ

[41] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิก-
คหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร 5 ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น อริย-
สาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล 4 ประการ และญายธรรม
อันประเสริฐ1 ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวก
นั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน’
ภัยเวร 5 ประการสงบแล้ว เป็นอย่างไร คือ
1. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น
ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ สงบแล้วด้วยประการฉะนี้
2. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น
ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์สงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้