เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
4. กฬารขัตติยวรรค 5. อวิชชาปัจยสูตร

“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็น
ของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่
เข้าไปใกล้ที่สุด 2 อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย ภพจึงมี’ ฯลฯ ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ... ‘เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ... ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ... ‘เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ... ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’ ... ‘เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ... ‘เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี”
“สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็นของใคร”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และ
สังขารเหล่านี้ เป็นของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และ
สังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน การอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด 2 อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรม
โดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี”
“เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็น
ของใคร หรือว่าชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและมรณะนี้เป็นของผู้อื่นว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดอัน
อริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่า
ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่า
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :76 }