เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต] 1. พุทธวรรค 2. วิภังคสูตร

3. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
4. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
5. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
6. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)
นี้เรียกว่า สฬายตนะ
นามรูป เป็นอย่างไร
คือ เวทนา(ความเสวยอารมณ์) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) เจตนา(ความจงใจ)
ผัสสะ(ความกระทบ หรือสัมผัส) มนสิการ(ความกระทำไว้ในใจ) นี้เรียกว่า นาม
มหาภูต1 4 และรูปที่อาศัยมหาภูต 4 นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
วิญญาณ มีเท่าไร
วิญญาณมี 6 ประการนี้ คือ
1. จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา)
2. โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู)
3. ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก)
4. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น)
5. กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย)
6. มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ)
นี้เรียกว่า วิญญาณ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
1. พุทธวรรค 2. ปฏิปทาสูตร

สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร
สังขารมี 3 ประการนี้ คือ
1. กายสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งกาย)
2. วจีสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา)
3. จิตตสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งใจ)
นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย
อวิชชา เป็นอย่างไร
คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย(เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธ(ความดับแห่งทุกข์) ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์) นี้เรียกว่า อวิชชา
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

วิภังคสูตรที่ 2 จบ