เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
4. กฬารขัตติยวรรค 2. กฬารสูตร

ครั้นรู้ว่า ‘ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นแล้ว ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อข้าพระองค์
ถูกถามอย่างนี้ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์
อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ชาติมีภพ
เป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ภพเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์
อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ภพมีอุปาทาน
เป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘อุปาทาน
มีตัณหาเป็นเหตุ ฯลฯ มีตัณหาเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ตัณหาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึง
พยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ตัณหาเล่ามีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็น
กำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :64 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
4. กฬารขัตติยวรรค 2. กฬารสูตร

“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มี
อะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็เวทนาเล่ามีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘เวทนา
มีผัสสะเป็นเหตุ ฯลฯ มีผัสสะเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร ความเพลิดเพลิน
ในเวทนาจึงไม่ปรากฏ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร ความ
เพลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
เวทนามี 3 ประการ

เวทนา 3 ประการอะไรบ้าง คือ
1. สุขเวทนา
2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนาทั้ง 3 ประการนี้ เป็นสภาวะไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายจึงไม่ปรากฏ”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ได้ใจความ
ดังนี้ว่า ‘เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น’
อนึ่ง ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร เพราะความหลุดพ้นเช่นไร
ท่านจึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :65 }