เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
3. ทสพลวรรค 9. สมณพราหมณสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งชรา
และมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดชาติอย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... รู้ชัดสังขาร
ทั้งหลายอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้
รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ
บ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง
ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะผู้
มีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”

ภิกขุสูตรที่ 8 จบ

9. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์

[29] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชราและมรณะ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ ไม่รู้ชัดภพ ... อุปาทาน
... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... ไม่รู้ชัด
สังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร ไม่รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่า
เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความ
เป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :56 }