เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
3. ทสพลวรรค 3. อุปนิสสูตร

เรากล่าวว่าแม้ปีติก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งปีติ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ปราโมทย์’
เรากล่าวว่าแม้ปราโมทย์ก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งปราโมทย์ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ศรัทธา’
เรากล่าวว่าแม้ศรัทธาก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งศรัทธา สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ทุกข์’
เรากล่าวว่าแม้ทุกข์ก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งทุกข์ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ชาติ’
เรากล่าวว่าแม้ชาติก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งชาติ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ภพ’
เรากล่าวว่าแม้ภพก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งภพ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘อุปาทาน’
เรากล่าวว่าแม้อุปาทานก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งอุปาทาน สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ตัณหา’
เรากล่าวว่าแม้ตัณหาก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งตัณหา สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘เวทนา’ ฯลฯ
สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ผัสสะ’ ... สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สฬายตนะ’ ... สิ่งนั้นควร
เรียกว่า ‘นามรูป’ ... สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘วิญญาณ’ ... สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สังขาร
ทั้งหลาย’
เรากล่าวว่าแม้สังขารทั้งหลายก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่า
เป็นที่อาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘อวิชชา’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย วิญญาณมี
สังขารเป็นที่อาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย ชาติมีภพเป็นที่อาศัย ทุกข์
มีชาติเป็นที่อาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย ปีติมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :42 }